วันพุธที่ 24 สิงหาคม พ.ศ. 2559

การสื่อสารข้อมูลในระดับเครือข่าย

มาตรฐานกลางที่ใช้ในการส่งข้อมูลระหว่างคอมพิวเตอร์ในระบบเครือข่าย คือ มาตรฐาน OSI (Open Systems Interconnection Model) ซึ่งทำให้ทั้งคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์เชื่อมต่อต่างๆสามารถเชื่อมโยงและใช้งานในเครือข่ายได้จุดมุ่งหมายของการกำหนดมาตรฐาน OSI นี้ขึ้นมาก็เพื่อจัดแบ่งการดำเนินงานพื้นฐานของเครือข่ายและกำหนดหน้าที่การทำงานในแต่ละชั้น ซึ่งแบ่งออกได้เป็น 7 ชั้น โดยหลักเกณฑ์ในการกำหนดมีดังต่อไปนี้
1. ไม่แบ่งโครงสร้างออกในแต่ละชั้นจนมากเกินไป
2. แต่ละชั้นมีหน้าที่การทำงานแตกต่างกัน
3. หน้าที่การทำงานคล้ายกันจะถูกจัดให้อยู่ในชั้นเดียวกัน
4. เลือกเฉพาะการทำงานที่เคยใช้ได้ผลสำเร็จมาแล้ว
5. กำหนดหน้าที่การทำงานเฉพาะง่ายๆเผื่อว่ามีการออกแบบหรือเปลี่ยนแปลงใหม่ อุปกรณ์ฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์จะได้ไม่ต้องเปลี่ยนแปลงตาม
6. มีการกำหนดอินเตอร์เน็ตมาตรฐาน
7. มีความยืดหยุ่นในการเปลี่ยนแปลงโปรโตคอลในแต่ละชั้นมีทั้งหมด 7 ชั้น
      1. ชั้น Physical เป็นชั้นล่างสุดของการติดต่อสื่อสาร มีหน้าที่รับ ส่งข้อมูลจากช่องทางการสื่อสารหรือสื่อระหว่างคอมพิวเตอร์ เทคนิคการมัลติเพล็กซ์แบบต่างๆจะถูกกำหนดอยู่ในชั้นนี้
      2. ชั้น Data Link มีหน้าที่เหมือนผู้ตรวจสอบ คอยควบคุมความผิดพลาดในข้อมูลโดยจะมีการสำเนาข้อมูลไว้จนกว่าจะส่งถึงปลายทางหรือผู้รับ
ชั้น Data Link นี้จะป้องกันไม่ให้เครื่องส่งทำการส่งข้อมูลเร็วจนเกินขีดความสามารถของเครื่องรับ

      3. ชั้น Network มีหน้าที่กำหนดเส้นทางการเดินทางของข้อมูลที่ส่ง รับ ในการส่งข้อมูลระหว่างต้นทางและปลายทาง โดยจะเลือกเส้นทางที่ใช้เวลาในการสื่อสารที่น้อยที่สุด และระยะทางที่สั้นที่สุด

      4. ชั้น Transport มีหน้าที่ตรวจสอบและป้องกันข้อมูลให้ข้อมูลที่ส่งมานั้นไปถึงปลายทางจริงๆ

      5. ชั้น Session มีหน้าที่เชื่อมโยงระหว่างผู้ใช้งานกับคอมพิวเตอร์เครื่องอื่นๆโดยจะกำหนดจุดผู้รับและผู้ส่ง

      6. ชั้น Presentation มีหน้าที่คอยรวบรวมข้อความ และแปลงรหัสหรือแปลงรูปแบบของข้อมูลให้เป็นรูปแบบการสื่อสารเดียวกัน เพื่อช่วยลดปัญหาต่างๆที่อาจจะเกิดขึ้นกับผู้ใช้งานในระบบ

      7. ชั้น Application เป็นชั้นบนสุดของมาตรฐาน OSI มีหน้าที่ติดต่อระหว่างผู้ใช้โดยตรง เช่นเทอร์มินัลหรือคอมพิวเตอร์โดยแปลงข้อมูลจากภาษา ที่มนุษย์เข้าใจไปเป็นภาษาที่เครื่องคอมพิวเตอร์เข้าใจ

บริดจ์ (Bridge)

บริดจ์ (Bridge) คือ อะไร
      บริดจ์ เป็นอุปกรณ์เชื่อมโยงเครือข่ายของเครือข่ายที่แยกจากกัน แต่เดิมบริดจ์ได้รับการออกแบบมาให้ใช้กับเครือข่ายประเภทเดียวกัน เช่น ใช้เชื่อมโยงระหว่างอีเทอร์เน็ตกับ อีเทอร์เน็ต (Ethernet) บริดจ์มีใช้มานานแล้ว ตั้งแต่ปี ค.ศ.1980บริดจ์จึงเป็นเสมือนสะพานเชื่อมระหว่างสองเครือข่ายการติดต่อภายในเครือข่ายเดียวกันมีลักษณะการส่ง ข้อมูลแบบกระจาย(Broadcasting)ดังนั้นจึงกระจายได้เฉพาะเครือข่ายเดียวกันเท่านั้นการรับส่งภายในเครือข่ายมีข้อกำหนดให้แพ็กเก็ตที่ส่งกระจายไปยังตัวรับได้ทุกตัว แต่ถ้ามีการส่งมาที่แอดเดรสต่างเครือข่ายบริดจ์จะนำข้อมูลเฉพาะแพ็กเก็ตนั้นส่งให้บริดจ์จึงเป็นเสมือนตัวแบ่งแยกข้อมูลระหว่างเครือข่ายให้มีการสื่อสารภายในเครือข่าย ของตน ไม่ปะปนไปยังอีกเครือข่ายหนึ่ง เพื่อลดปัญหาปริมาณข้อมูลกระจายในสายสื่อสารมากเกินไป ในระยะหลังมีผู้พัฒนาบริดจ์ให้เชื่อมโยงเครือข่ายต่างชนิดกันได้ เช่น อีเทอร์เน็ตกับโทเก็นริง เป็นต้น หากมีการเชื่อมต่อเครือข่ายมากกว่าสองเครือข่ายเข้าด้วยกัน และเครือข่ายที่เชื่อมมีลักษณะหลากหลาย ซึ่งเป็นทั้งเครือข่ายแบบ LAN และ WAN อุปกรณ์ที่นิยมใช้ในการเชื่อมโยงคือ เราเตอร์ (Router)
บริดจ์ เป็นอุปกรณ์ที่มักจะใช้ในการเชื่อมต่อวงแลน (LAN Segments)เข้าด้วยกันทำให้สามารถขยายขอบเขตของ LANออกไปได้เรื่อยๆโดยที่ประสิทธิภาพรวมของระบบไม่ลดลงมากนักเนื่องจากการติดต่อของเครื่องที่อยู่ในเซกเมนต์เดียวกันจะไม่ถูกส่งผ่านไปรบกวนการจราจรของเซกเมนต์อื่น และเนื่องจากบริดจ์เป็นอุปกรณ์ที่ทำงานอยู่ในระดับ Data Link Layerจึงทำให้สามารถใช้ในการเชื่อมต่อเครือข่ายที่แตกต่างกันในระดับ Physical และ Data Link ได้ เช่น ระหว่าง Eternet กับ Token Ring เป็นต้น

Router


Router คืออะไร
     Router คือ อุปกรณ์ที่ทำหน้าที่เชื่อมต่อระบบเครือข่ายอย่างหนึ่ง ซึ่งถ้าแปลความหมายคำว่า Route ก็คือ ถนน นั่นเอง ดังนั้น การเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์ด้วย Router ทำให้เราสามารถเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์ได้มากกว่าหนึ่งเครื่องในเวลาเดียวกัน ซึ่ง Router นั้นจะมีซอฟต์แวร์ที่ใช้ในการควบคุมการทำงานเรียกว่า Internetwork Operating System (IOS) และตัว Router จะมีช่องที่ใช้เสียบต่อสายสัญญาณเรียกว่า Port LAN ซึ่งโดยทั่วไปมักมี 4 Ports หรือมากกว่า ใน Router 1 ตัว 


หน้าที่หลักของ Router คือการหาเส้นทางในการส่งผ่านข้อมูลที่ดีที่สุด และเป็นตัวกลางในการส่งต่อข้อมูลไปยังเครือข่ายอื่น ทั้งนี้ Router สามารถเชื่อมโยงเครือข่ายที่ใช้สื่อสัญญาณหลายแบบแตกต่างกันได้ไม่ว่าจะเป็น Ethernet, Token Rink หรือ FDDI ทั้งๆที่ในแต่ละระบบจะมี packet เป็นรูปแบบของตนเองซึ่งแตกต่างกัน โดยโปรโตคอลที่ทำงานในระดับบนหรือ Layer 3 ขึ้นไปเช่น IP, IPX หรือ AppleTalk เมื่อมีการส่งข้อมูลก็จะบรรจุข้อมูลนั้นเป็น packet ในรูปแบบของ Layer 2 คือ Data Link Layer เมื่อ Router ได้รับข้อมูลมาก็จะตรวจดูใน packet เพื่อจะทราบว่าใช้โปรโตคอลแบบใด จากนั้นก็จะตรวจดูเส้นทางส่งข้อมูลจากตาราง Routing Table ว่าจะต้องส่งข้อมูลนี้ไปยังเครือข่ายใดจึงจะต่อไปถึงปลายทางได้ แล้วจึงบรรจุข้อมูลลงเป็น Packet ของ Data Link Layer ที่ถูกต้องอีกครั้ง เพื่อส่งต่อไปยังเครือข่ายปลายทาง

คุณสมบัติของ Router  
1.ทำหน้าที่คล้าย Swich ทำให้เชื่อมต่อได้หลายเครื่องพร้อมกัน
2.บางรุ่นรองรับการทำงาน Wire หรือ Wireless 
3.เป็น ADSL Modem ในตัว (เฉพาะบางรุ่นเท่านั้น)
4.Firewall /IPsec VPN (รองรับการเชื่อมต่อทางไกลแบบมี security)
5.Antivirus (รุ่นใหม่ๆ ของ Router บางรุ่น จะมี antivirus program ฝังอยู่ด้วย)

การใช้ระบบปฏิบัติการเครือข่าย

  ระบบปฏิบัติการเครือข่าย Network Operating System (NOS)
เป็นโปรแกรมที่ติดตั้งในเครื่องคอมพิวเตอร์แม่ข่าย (Server) เพื่อควบคุมการทำงานของเครื่องคอมพิวเตอร์ลูกข่าย สำหรับจัดการงานด้านการติดต่อสื่อสารระหว่างคอมพิวเตอร์ และช่วยให้คอมพิวเตอร์ที่ต่ออยู่
กับเครือข่ายสามารถใช้อุปกรณ์ต่างๆ ร่วมกันได้ครับ อย่างเช่น ใช้เครื่องพิมพ์ร่วมกัน เป็นต้น ระบบปฏิบัติการเครือข่าย มี คุณสมบัติในการ
จัดการเกี่ยวกับเครือข่ายและ การใช้งานอุปกรณ์ร่วมกันนะครับ รวมทั้งยังมีระบบการป้องกันการสูญหายของข้อมู
     ระบบปฏิบัติการเครือข่ายที่นิยมใช้ปัจจุบัน จะใช้หลักการประมวลผลแบบไคลเอนต์เซิร์ฟเวอร์ (Client / Server) โดยส่วนประกอบสำหรับการ
เรียกใช้แฟ้มข้อมูลและการจัดการโปรแกรมจะทำงานอยู่บนเครื่องเซิร์ฟเวอร์ ในขณะที่ส่วนประกอบอื่น ๆ ของระบบปฏิบัติการเครือข่ายจะอยู่บนเครื่อง
ไคลเอนต์ เช่น การติดต่อกับผู้ใช้ การประมวลผล เป็นต้น การจัดการให้ผู้ใช้เห็นว่างานและอุปกรณ์ทั้งหลายที่ใช้นั้นเสมือนอยู่บนเครื่องไคลเอนต์เอง ถือว่าเป็นหน้าที่หลักอันหนึ่งของระบบปฏิบัติการเครือข่าย

     1. Netware เป็นระบบปฏิบัติการที่มีผู้นิยมใช้งานในระบบเครือข่ายมากสำหรับเครื่องไมโครคอมพิวเตอร์ในยุคแรกๆ พัฒนาโดยบริษัท Novell จัดเป็นระบบปฏิบัติการเครือข่ายที่ทำงานภายใต้ MS-DOS ระบบปฏิบัติการเครือข่าย Netware ในขณะนี้ สรุปได้ดังนี้
- 1. Personal Netware (Netware Lite)
เป็นระบบเครือข่ายขนาดเล็ก เชื่อมต่อในลักษณะ Peer-to-Peer โดยคอมพิวเตอร์ในเครือข่ายนั้น จะติดต่อกันในกลุ่มเครือข่าย โดยไม่มีเครื่องใด
เครื่องหนึ่งเป็นเครื่องเซอร์เวอร์โดยเฉพาะ ไม่เหมาะกับระบบเครือข่ายขนาดใหญ่ เพราะมีการจัดการเกี่ยวกับระบบความปลอดภัยค่อนข้างน้อย
- 2. Netware 3.1x
เป็นระบบเครือข่ายแบบไคลเอ็นต์เซอร์เวอร์ มีเครื่องคอมพิวเตอร์เครื่องหนึ่งหรือมากกว่าที่ทำหน้าที่เป็นศูนย์กลางในการบริการข้อมูล โดยเฉพาะ Netware 3.12 นั้นยังเป็นที่นิยมใช้กันมากจนถึงปัจจุบัน สามารถต่อเครือข่ายได้สูงสุด 250 ยูสเซอร์ ต่อ 1 เซอร์เวอร์ ปัจจุบันพัฒนา Netware 3.2 แล้ว
- 3. Netwware 4.xx
เป็นเวอร์ชันที่มีลักษณะคล้ายกับ Netware 3.12 แต่มีรายละเอียดซับซ้อนมากกว่าในเรื่องของการจัดการและการออกแบบโครงสร้าง NDS ในเวอร์ชันนี้สามารถต่อเครือข่ายได้สูงสุด 1000 ยูสเซอร์ และสามารถรองรับซีพียูในการประมวลผลได้มากกว่าหนึ่งตัว
- 4. Netware 5
เป็นเวอร์ชันที่ใช้สำหรับเครือข่ายขนาดใหญ่ เชื่อมต่อกับเครือข่ายอินเตอร์เน็ต สนับสนุนโปรโตคอลหลายชนิดด้วยกัน เช่น TCP/IP รวมทั้งการติดตั้งระบบเครือข่ายอินทราเน็ต และความสามารถในการจัดการระบบต่าง ๆ เช่น Web-based Management , File System, Javaเป็นต้น
        2. Window NT, Windows 2000 Server เป็นระบบปฏิบัติการที่พัฒนาโดยบริษัท ไมโครซอฟต์ จำกัด ประมาณปลายปี 1995 สามารถนำไปประยุกต์ใช้งานได้หลากหลายรูปแบบ เริ่มต้นไมโครซอฟต์ต้องการพัฒนาเป็นแอปปลิเคชั่น เซอร์ฟเวอร์ แต่ปัจจุบันสามารถประยุกต์ได้เป็น
ดาต้าเบสเซอรฟ์เวอร์ และอินเทอร์เน็ตเซอร์ฟเวอร์

        3. Unix เป็นระบบปฏิบัติการที่กำเนิดมาบนเครื่องคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่ (Mainframe) ที่รองรับผู้ใช้จำนวนมากสำหรับระบบเครือข่าย
ในหน่วยงานใหญ่ๆ เป็นโปรแกรมจัดการระบบงาน (Operating system) ในเครือข่ายคอมพิวเตอร์ระบบหนึ่ง ได้รับการออกแบบโดยห้องปฏิบัติ
การเบลล์ของบริษัท AT&T ในปี คศ. 1969 ถึงแม้ว่าระบบ Unix จะคิดค้นมานานแล้ว แต่ยังเป็นที่นิยมใช้กันมากมาจนถึงปัจจุบัน  โดยเฉพาะ
ระบบ พื้นฐานของอินเตอร์เนต เนื่องจากมีความคล่องตัวสูง ตลอดจนสามารถใช้ได้กับเครื่องคอมพิวเตอร์หลายชนิด นอกจากนั้น Unix ยังเป็นระบบ ใช้ในลักษณะผู้ใช้ร่วมกันหลายคน (Mutiuser) และงานหลายงานในขณะเดียวกัน (Mutitasking) ผู้ใช้สามารถดัดแปลง หรือเพิ่มคำสั่งใน Unix ด้วยตนเองเพื่อความสะดวกได้

        4. Linux เป็นระบบปฏิบัติการสำหรับระบบเครือข่าย ที่อยู่ในกลุ่มของ FreeWare ที่มีคุณภาพ และประสิทธิภาพสูง Linux พัฒนาขึ้นโดย
นายไลนัส ทอร์วัลด์ (Linus Torvalds) ขณะที่ยังเป็นนักศึกษาของมหาวิทยาลัยเฮซิงกิ ประเทศฟินแลนด์ เขาได้ส่งซอร์สโค้ด(Source Code) ให้นักพัฒนาทั่วโลกร่วมกันพัฒนา โดยข้อดีของ Linux สามารถทำงานได้พร้อมกัน (Multitasking) และใช้งานได้พร้อมกันหลายคน(MultiUser) ทำให้เป็นที่นิยมแพร่หลาย บางคนกล่าวว่า "Linux ก็คือน้องของ Unix" แต่จริงๆ แล้วลีนุกซ์มีข้อดีกว่ายูนิกซ์(Unix) คือสามารถทำงาน ได้บนเครื่องคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล (PC) ที่ใช้งานอยู่ทั่วๆ ไป เพราะว่า Linux เป็นระบบปฏิบัติการที่ใช้ทรัพยากรน้อย และมีเสถียรภาพในการดูแล
ระบบได้ดี
        5. NetBUEI พัฒนาโดย IBM ในปี ค . ศ .1985 เป็นโปรโตคอลที่มีขนาดเล็กกะทัดรัดทำงานได้รวดเร็ว เหมาะสมกับระบบเครือข่ายที่มีขนาด
เล็ก ไม่เหมาะกับเครือข่ายขนาดใหญ่เนื่องจากไม่สามารถค้นหาเส้นทางได้
        6. OS/2 Warp เป็นระบบปฏิบัติการเครือข่าย ที่บริษัทไอบีเอ็ม พัฒนาขึ้น เพื่อนำเสนอสำหรับการค้าขายในยุคดิจิตอลซึ่งไม่ค่อยประสบความ
สำเร็จนักต่อมาจึงเพิ่มในส่วนของ e-Business คือด้านพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ มีการออกแบบเวอร์ชันใหม่ ๆ เช่น OS/2 Server เชื่อมต่ออินเตอร์เน็ต

บริการต่าง ๆ ของระบบปฏิบัติการเครือข่าย
1. การบริการจัดเก็บไฟล์และการพิมพ์ ถือเป็นจุดประสงค์หลักของการสร้างระบบปฏิบัติการเครือข่าย ดังนั้นการบริการจัดเก็บไฟล์และการพิมพ์จึงเป็น
บริการหลักที่ระบบปฏิบัติการเครือข่ายทุกประเภทต้องมี เพื่อใช้ในการควบคุมการเข้าใช้ทรัพยากรเหล่านี้
2. การบริการดูแลและจัดการระบบ หมายถึงการจัดการเกี่ยวกับรายละเอียดของผู้ใช้งาน การควบคุมการทำงานของอุปกรณ์ต่าง ๆ ในเครือข่าย
การเฝ้าดูการทำงานของระบบเครือข่าย เพื่อทราบถึงปัญหาที่อาจเกิดขึ้นเพื่อให้สามารถแก้ปีญหานั้นได้ทันเวลา
3. การบริการรักษาความปลอดภัยของข้อมูล ถือเป็นสิ่งสำคัญอีกอย่างหนึ่ง เพราะถ้าข้อมูลในระบบเครือข่ายถูกทำลายไปทำให้เกิดความเสียหายได้
นอกจากนี้ข้อมูลบางอย่างที่เป็นความลับขององค์กร จะต้องมีการจำกัดสิทธิการเข้าถึงข้อมูลเหล่านั้น
4. การบริการอินเทอร์เน็ตและอินทราเน็ต หมายถึงการบริการทางด้าน DNS Server , Web Server, Mail Server เป็นต้น ซึ่งเป็นการบริการ
ที่ช่วยให้การแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสารในระบบเครือข่ายเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ
5. การบริการ MultiProcessing และ Clustering Service การใช้งานผ่านระบบเครือข่ายจะต้องเกี่ยวข้องกับผู้ใช้ังานจำนวน ดังนั้นระบบเครือข่าย
ที่ดี จึงควรเป็นระบบที่มีความเชื่อถือได้ สามารถใช้งานได้อย่างต่อเนื่อง และสามารถขยายระบบเครือข่ายได้ง่าย โดยไม่มีผลทำให้การทำงานของเครือข่ายหยุดชะงัก

วันอังคารที่ 23 สิงหาคม พ.ศ. 2559

การทำงานของ netware

 Netware กับคำสั่งของ DOS Netware สนับสนุนคำสังของ DOS ทุกคำสั่ง นอกจากนี้ คำสั่งของ Netware ยังคล้าย กับคำสั่งของ DOS ช่วยให้ผู้ใช้งาน ได้ง่านขึ้นด้วยไม่ต้อง เสียเวลาอบรมคำสั่งใหม่ เช่น การสำเนาข้อมูล (Backup Data) หรือการเรียกค้นหาข้อมูล (Restore Data) ซึ่งเรียก ใช้คำสั่งของ DOS นี้ในระบบ Netware ได้ทันที เป็นต้น                                      
   On-Line Help Netware สามารถแสดงข้อความช่วยเหลือ ทันทีที่สอบถามโดย Help เป็นโปรแกรมแบบที่ใช้ใน เมนูและเริ่มต้นจากเรื่องทั่วไปก่อนที่จะนำลงไป ในราย ละเอียด                                                                                                                              
   โปรแกรมข้อมูลและ On – line Netware มีโปรแกรม เมนูที่ออก แบบ สำหรับผู้ที่เริ่มใช้งานโดยเฉพาะ คำสั่ง ส่วน ใหญ่ของ Netware จะรวมเข้าไว้ในระบบ เมนู เพื่อช่วยผู้ใช้ในคำสั่งต่าง ๆ ไดโดยไม่ต้องจดจำคำสั่งนั้น ๆ

การใช้งานในระบบเครือข่าย LAN

การใช้งานเครือข่ายแลน



                    การเชื่อมโยงคอมพิวเตอร์เข้าเป็นเครือข่ายแลนนั้น มีจุดมุ่งหมายที่จะให้เครื่องคอมพิวเตอร์ทุกเครื่อง สื่อสารข้อมูลระหว่างกันได้ทั้งหมด            หากนำเครื่องคอมพิวเตอร์สองเครื่องต่อสายสัญญาณเข้าหากัน จะทำให้เครื่องคอมพิวเตอร์ทั้งสองนั้นส่งข้อมูลถึงกันได้ และยิ่งถ้านำเอาคอมพิวเตอร์
           เครื่องที่สาม และเครื่องที่สี่ หรือเป็นจำนวนมากต่อร่วมด้วย เริ่มจะมีข้อยุ่งยากเพิ่มขึ้น ที่จะทำให้เครื่องคอมพิวเตอร์ทั้งหมดสื่อสารถึงกันได้
         เครือข่ายแลนหนึ่งเครือข่ายจะมีการทำงานรวมกันเป็นกลุ่มที่เรียกว่า กลุ่มงาน (workgroup) แต่เมื่อเชื่อมโยงหลาย ๆ กลุ่มงานเข้าด้วยกัน ก็จะเป็นเครือข่ายขององค์การและถ้าเชื่อมโยงระหว่างองค์การผ่านเครือข่ายแวน ก็จะได้เครือข่ายขนาดใหญ่ขึ้น



ตัวอย่างการใช้งานเครือข่าย มีดังนี้
        1) การใช้ฐานข้อมูลร่วมกัน บนเครือข่ายมีสถานีที่เป็นเครื่องให้บริการ เรียกว่า ตัวแม่ (Server) ซึ่งเป็นที่เก็บข้อมูลข่าวสารหรือหรือข้อมูลใช้งาน   แล้วให้ผู้ใช้ซึ่งเป็นเครื่องรับ เรียกว่า ตัวลูก (Client) ขอใช้บริการเรียกใช้ข้อมูล การเรียกใช้ฐานข้อมูลร่วมกัน ทำให้การปรับปรุงข้อมูล การขอดู และการเรียกค้นกระทำได้ทันที
        2) การติดต่อสือสารระหว่างกันบนเครือข่าย เมื่อมีการเชื่อมโยงสถานีงาน หรือเครื่องคอมพิวเตอร์เข้าด้วยกัน ผู้ใช้คอมพิวเตอร์ทุกคนที่อยู่บนเครือข่าย จะสามารถใช้คอมพิวเตอร์ติดต่อสื่อสารระหว่างกัน สามารถส่งไปรษณีย์อิเล็คทรอนิคส์ระหว่างกัน ตลอดจนสามารถโอนย้ายข้อมูลระหว่างกันได้
       3) สำนักงานอัตโนมัติ แนวคิดของสำนักงานอัตโนมัติสมัยใหม่ คือ ลดการใช้กระดาษ โดยการหันมาใช้ระบบการทำงานด้วยคอมพิวเตอร์ ที่สามารถแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างกันได้ทันทีทันใด
        การใช้งานเครือข่ายคอมพิวเตอร์ สามารถประยุกต์ใช้งานกันได้หลายอย่าง ตั้งแต่การโอนย้ายแฟ้มข้อมูลระหว่างกัน การทำงานเป็นกลุ่ม การใช้ทรัพยากรร่วมกัน การนัดหมาย การส่งงาน แม้แต่ในสถานศึกษาก็ใช้เครือข่ายเพื่อการเรียนการสอน ใช้เป็นแหล่งความรู้ให้เรียกค้นข้อมูล เป็นต้น

ตัวอย่างเครือข่ายคอมพิวเตอร์
1) อินเทอร์เน็ต (Internet)



          อินเทอร์เน็ต หมายถึง เครือข่ายของเครือข่าย หรืออภิมหาเครือข่าย หรือเครือข่ายขนาดใหญ่ ส่วนเครือข่ายที่เป็นของตนเอง และนำมาประยุกต์ใช้งานเฉพาะในองค์การ เรียกว่า อินทราเน็ต ดังนี้น อินเทอร์เน็ตและอินทราเน็ต จึงแตกต่างกันที่ขอบเขตของการเชื่อมโยง แต่ยังคงใช้มาตรฐานเดียวกันในการเชื่อมโยงเครือข่าย(รายละเอียดศึกษาเพิ่มเติมในหัวข้ออินเทอร์เน็ตเบื้องต้น)
   
           2) อินทราเน็ต (Intranet)


                    เมื่อเครือข่ายอินเทอร์เน็ตได้รับการพัฒนามาจนเป็นที่ยอมรับและแพร่หลาย จึงมีผู้คิดสร้างเครือข่ายใช้งานเฉพาะในองค์การ โดยใช้หลักการ
           แบบเดียวกับเครือข่ายอินเทอร์เน็ตมาใช้ในเครือข่ายของตน คือ มีสถานีผู้ให้บริการ และสถานีผู้ใช้บริการ ในส่วนของสถานีผู้ใช้บริการ มีโปรแกรม
           เชื่อมต่อที่ทำให้ใช้งานระบบฐานข้อมูลได้ง่าย  ซึ่งอินทราเน็ตก็ใช้วิธีการเดียวกันนี้ เพราะทำให้ผู้ใช้ไม่ต้องเสียเวลาในการเรียนรู้การใช้งานมากนัก    

                    อินทราเน็ตเป็นการประยุกต์เอาเทคโนโลยีที่ใช้กับอินเทอร์เน็ต มาใช้กับเครือข่ายภายในองค์กร การเผยแพร่ข้อมูล ข่าวสารต่าง ๆ ทำได้
เช่นเดียวกับบนอินเทอร์เน็ตเพียงแต่มีขอบเขตเฉพาะภายในองค์กรเท่านั้น แต่ความเร็วในการรับ-ส่ง ข้อมูลสูงกว่าอินเทอร์เน็ต บริการต่าง ๆ บนอินทราเน็ต เช่น ระบบเว็บบนอินทราเน็ต  การใช้อีเมล์   การรับ-ส่งไฟล์ผ่านอินทราเน็ต ฯลฯ เป็นต้น

ข้อเปรียบเทียบของระบบเครือข่ายแต่ละแบบ

ข้อเปรียบเทียบของระบบเครือข่ายแต่ละแบบ

     ระบบเครือข่าย (Network) แต่ละแบบไม่ว่าจะเป็น ระบบเครือข่ายระดับประเทศ (Wide Area Network หรือ WAN) หรือระบบเครือข่ายระดับท้องถิ่น (Local Area Networkหรือ LAN) หรือระบบเครือข่ายระดับเมือง (Metropolitan Area Network หรือ Man) มีความแตกต่างกันอยู่หลายประกาศ ซึ่งพอที่จะสามารถสรุปได้ ดังนี้
     1. ระบบเครือข่ายระดับท้องถิ่น (LAN) มีระยะทางระหว่างจุดที่ต่อกันจำกัด ขนาดสูงสุดปกติไม่เกิน 10 กิโลเมตร และต่ำสุดไม่น้อยกว่า 1 เมตร
     2. โดยปกติทั่วไปแล้วระบบเครือข่ายระดับเมือง (MAN) จะทำงานด้วยความเร็วน้อยกว่า 1 เมกะบิตต่อวินาที (Mbps) แต่การทำงานโดยปกติของระบบเครือข่ายระดับท้องถิ่นจะมีความเร็วระหว่าง 1-10 เมกะบิตต่อวินาที (Mbps) แต่ถ้าใช้เทคโนโลยีแบบเส้นใยนำแสง (Fiber Optic) ในการเชื่อมต่อจุดแต่ละจุดแล้ว จะทำให้ส่งข้อมูลด้วยความเร็วหลายร้อยเมกะบิตต่อวินาที (Mbps)
     3. เนื่องจากระบบเครือข่ายระดับท้องถิ่น (LAN) มีระยะทางการใช้งานไม่กว้างนักทำให้มีอัตราของความผิดพลาดหรือข้อผิดพลาดต่างๆ น้อยกว่าระบบเครือข่ายระดับเมือง (MAN)
     4. ระบบเครือข่ายระดับท้องถิ่น (LAN) จะอยู่ภายใต้การควบคุมของคน หรือองค์กรเดียวแต่ระบบเครือข่ายระดับประเทศ (WAN) จะมีขอบข่ายการใช้งานอยู่ทั่วโลก ดังนั้น การใช้งานจะขึ้นอยู่กับองศ์กรการสื่อสารของแต่ละประเทศด้วย
     โดยสรุปแล้ว ระบบเครือข่ายระดับท้องถิ่น (LAN) เป็นรูปแบบการทำงานของระบบเครือข่ายแบบหนึ่งที่ช่วยให้เครื่องคอมพิวเตอร์ จอภาพ เครื่องพิมพ์ และอุปกรณ์ต่างๆ สามารถติดต่อและใช้งานร่วมกันได้ ซึ่งจะต่างกับระบบเครือข่ายแบบอื่นๆ ตรงที่จำกัดการติดต่อสื่อสารของอุปกรณ์อยู่ในบริเวณแคบๆ เท่านั้น โดยทั่วไปจะมีระยะการใช้งานไม่เกิน 2 กิโลเมตร เช่นใช้ภายในมหาวิทยาลัย อาคารสำนักงาน คลังสินค้า หรือโรงงาน เป็นต้น การส่งข้อมูลสามารถทำได้ด้วยความเร็วสูงถึง 1-10 เมกะบิตต่อวินาที (Mbps) และมีข้อผิดพลาดน้อย