มาตรฐานการเชื่อมต่อเครือข่ายคอมพิวเตอร์
ใน พ.ศ. 2521 องค์การ International Standards Organization (ISO) มีที่ตั้งอยู่ ณ กรุงเจนีวา ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ ได้กำหนดรูปแบบโครงสร้างมาตรฐานสากลสำหรับการติดต่อสื่อสารระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์ไว้เรียกว่า Open System Interconnection (OSI) ซึ่งมีอยู่ทั้งหมด 7 ชั้นสื่อสาร โดยตัวโครงสร้างเองได้เน้นความสำคัญของรูปแบบการติดต่อสื่อสารระหว่างระบบเปิดหรือ OS กับระบบปิด จึงสามารถนำไปใช้อ้างอิงได้ในระดับสากลอย่างแท้จริง
แนวความคิดของการกำหนดมาตรฐานเป็นแบบชั้นสื่อสาร คือ
1. ชั้นสื่อสารแต่ละชั้นถูกกำหนดขึ้นมาตามบทบาทที่แตกต่างกัน
2. ในแต่ละชั้นสื่อสารจะต้องทำหน้าที่ตามที่ได้รับมอบหมายอย่างดีที่สุด
3. ในแต่ละชั้นสื่อสารต้องมีการกำหนดหน้าที่หรือฟังก์ชันขึ้นมาโดยใช้แนวความคิดในระดับสากลเป็นวัตถุประสงค์หลัก
4. ต้องมีการกำหนดขอบเขตความรับผิดชอบของแต่ละชั้นชื่อสารขึ้นมา เพื่อจำกัดปริมาณการแลกเปลี่ยนข้อมูลและผลกระทบข้างเคียงระหว่างการติดต่อให้มีน้อยที่สุด
5. จำนวนของชั้นสื่อสารจะต้องมีมากพอที่แยกฟังก์ชันการทำงานที่แตกต่างกันให้อยู่คนละชั้นแต่จะต้องไม่มีมากเกินความจำเป็น
1. ชั้นสื่อสารกายภาพ (Physical Layer) ชั้นกายภาพเป็นชั้นระดับล่างสุดเกี่ยวข้องโดยตรงกับอุปกรณ์สื่อสารต่าง ๆ ซึ่งทำหน้าที่ในการกำหนดวิธีควบคุมการรับและส่งข้อมูลระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์ โดย มีการรับส่งข้อมูลในลักษณะที่มีหน่วยเป็นบิต ได้แก่ การส่งบิต 0 จะแทนด้วยกระแสไฟฟ้ากี่โวลต์ และบิต 1 จะต้องใช้กี่โวลต์
2. ชั้นสื่อสารเชื่อมต่อข้อมูล (Data Link Layer) หน้าที่หลักของการเชื่อมต่อข้อมูล คือ การรวบรวมข้อมูลชั้นกายภาพ ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูล แล้วส่งข้อมูลที่ปราศจากข้อผิดพลาดนี้ให้กับชั้นสื่อสารควบคุมเครือข่ายต่อไป โครงสร้างข้อมูล คือจะมองเห็นข้อมูลว่าเป็นบิต 0 หรือ บิต 1 กลุ่มหรือชุดหนึ่งที่เรียงตามลำดับเรียกว่ากระแสบิต เป็นหน้าที่ของโปรแกรมในชั้นเชื่อมต่อข้อมูลจะต้องทำการตรวจสอบความถูกต้อง ปัญหาอื่น ๆ ที่ต้องจัดการ คือ การรักษาความสมดุลของการรับ-ส่งข้อมูล
3. ชั้นสื่อสารควบคุมเครือข่าย (Network Layer) มีหน้าที่รับผิดชอบในการควบคุมการติดต่อรับ-ส่งข้อมูลระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์ หรือที่เรียกว่าโหนตต่าง ๆ ในระบบเครือข่ายให้เป็นไปด้วยความเรียบร้อยสิ่งที่สำคัญที่สุดคือ การกำหนดเส้นทางเดินของข้อมูลจากโหนดผู้ส่งข้อมูลไปตามโหนดต่าง ๆ จนถึงโหนดผู้รับข้อมูลในที่สุด โฮสต์ บางกลุ่มจะกำหนดเส้นทางเดินข้อมูล การส่งผ่านข้อมูลในระบบเครือข่ายอาจมีการบันทึก ผู้ส่ง ผู้รับ และปริมาณข้อมูลที่ไหลผ่านโฮสต์หรือเร้าเตอร์ เพื่อประโยชน์ทางด้านการคิดค่าบริการ
4. ชั้นสื่อสารจัดการนำส่งข้อมูล (Transport Layer) มีหน้าที่หลักในการรับข้อมูลมาจากชั้นควบคุมหน้าต่างสื่อสาร อาจต้องแบ่งข้อมูลออกเป็นแพ็กเก็ตขนาดย่อย ๆ โปรแกรมในชั้นนี้เป็นผู้กำหนดประเภทของการให้บริการต่าง ๆ รวมไปถึงการอำนวยความสะดวกในการใช้ระบบเครือข่ายแบ่งออกเป็น
1. การให้บริการแบบจุดต่อจุด
2. การให้บริการข้อมูล
3. เป็นการส่งข้อมูลแบบกระจาย
ชั้นนี้จัดการนำส่งข้อมูลติดต่อถึงกันผ่านช่องสัญญาณเสมือนระหว่างผู้ส่งและผู้รับโดยตรง เรียกว่าเป็นการติดต่อแบบ End-to-End Connection ในขณะที่โปรแกรมในสามชั้นแรกนั้นเป็นการติดต่อแบบจุดต่อจุด
เครื่องโฮสต์ส่วนมากจะใช้ระบบปฏิบัติการที่สามารถให้บริการแบบมัลติโปรแกรมมิ่ง คือ สามารถสร้างและใช้งานโพรเซสในชั้นการส่งข้อมูลได้หลายโพรเซส
5. ชั้นสื่อสารควบคุมหน้าต่างสื่อสาร (Session Layer) ควบคุมหน้าต่างสื่อสารเป็นตัวกำหนดวิธีการควบคุมการเชื่อมต่อระหว่างผู้รับข้อมูลและผู้ส่งข้อมูล
หน้าที่สำคัญอย่างหนึ่ง คือ บริหารการแลกเปลี่ยนข่าวสาร และหน้าที่อีกประการคือ แก้ปัญหาความล้มเหลวในการส่งข้อมูลขนาดใหญ่มากระหว่างโหนดต่าง ๆ
6. ชั้นสื่อสารนำเสนอข้อมูล (Presentation Layer) ทำงานในระดับชั้นควบคุมต้น ๆ จะทำให้มีความสนใจในประสิทธิภาพของการรับ – ส่งข้อมูล
7. ชั้นสื่อสารประยุกต์ (Application Layer) ในปัจจุบันมีจอภาพเทอร์มินัล อยู่หลายร้อยชนิดทั่วโลก แต่ส่วนใหญ่จะไม่สามารถใช้ทดแทนหรือใช้งานร่วมกันได้ การติดต่อระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์ที่อยู่คนละระบบเครือข่ายย่อยจึงไม่อาจสื่อสารกันได้โดยสมบูรณ์
โพรโตคอลในการสื่อสารข้อมูล
โพรโตคอล คือ ข้อตกลงหรือข้อปฏิบัติในการสื่อสารรับ – ส่งข้อมูลระหว่างอุปกรณ์ต่าง ๆ ในเครือข่าย
8. โพรโตคอลบสแต็ก เป็นชุดของโพรโตคอลในการติดต่อสื่อสารระหว่างคอมพิวเตอร์ในเครือข่าย โดยเป็นการแบ่งแยกการทำงานให้ชัดเจนตามขั้นตอนที่กำหนด
9. โพรโตคอลไอพีเอ็ก/เอสพีเอ็ก เป็นการรวมสองโพรโตคอลเข้าด้วยกันโดยให้เป็นโพรโตคอล ตัวหลักในการติดต่อสื่อสารในเครือข่ายที่ใช้ระบบปฏิบัติการเครือข่าย
IPX เป็นโพรโตคอลที่เกิดจากการพัฒนาของบริษัทซีร็อกซ์ ใช้ในการรับส่งข้อมูลระหว่างอุปกรณ์ที่อยู่เครือข่ายต่างกัน เมื่อโพรโตคอล ส่งข้อมูลจะไม่มีการตรวจสอบความผิดพลาดในการส่งข้อมูล
SPX เป็นโพรโตคอลที่ขยายความสามารถขิงโพรโตคอล IPX เมื่อโพรโตคอล SPX ส่งข้อมูลมันจะเชื่อมต่อระหว่างอุปกรณ์สองเครือข่ายและคอยตรวจสอบการส่งข้อมูล
10. โพรโตคอลเน็ตบีอียูไอ เป็นโพรโตคอลขนาดเล็กที่มีประสิทธิภาพสูงเนื่องจากตัวมันไม่ต้องการหน่วยความจำและพลังในการประมวลผลในการทำงานมาก
11. โพรโตคอลทีซีพี/ไอพี เป็นโพรโตคอลที่นิยมใช้ในการติดต่อสื่อสารระหว่างเครือข่ายและเป็นโพรโตคอลหลักของเครือข่ายอินเทอร์เน็ต ต้นแบบของโพรโตคอล TCP/IP ถูกพัฒนาขึ้นเมื่อ ค.ศ. 1970 เพื่อใช้ในกิจการทางทหารของสหรัฐอเมริกา
ทิศทางของการสื่อสารข้อมูล
12. แบบทิศทางเดียว
13. แบบกึ่งสองทิศทาง
14. แบบสองทิศทาง
การเชื่อมต่อระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์
15. เครือข่ายแบบดาว เป็นการเชื่อมต่อแบบฮับ การเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์เข้าเป็นระบบเครือข่ายในลักษณะอาศัยหลักการที่ว่า ในเครือข่ายหนึ่ง ๆ จะต้องมีศูนย์กลางของการทำการ
ข้อดี
1. มีความเป็นระเบียบ
2. มีความเป็นอิสระ
3. ง่ายต่อการควบคุมและตรวจสอบระบบ
ข้อเสีย
1. ใช้สายเคเบิลมาก
2. ขยายระบบได้ยาก
3. ระบบต้องขึ้นอยู่กับศูนย์กลางเพียงแห่งเดียว
16. เครือข่ายแบบวงแหวน เป็นการได้รับออกแบบโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อหลีกเลี่ยงการมีศูนย์กลางของระบบเครือข่าย
ข้อดี
1. ใช้สายเคเบิลน้อย
2. ขยายระบบได้ง่าย
ข้อเสีย
1. สถานีงานแต่ละสถานีงานไม่เป็นอิสระจากกัน
2. การควบคุมและตรวจสอบความผิดพลาดทำได้ยาก
3. การจัดโครงสร้างของระบบใหม่ทำได้ยาก
17. เครือข่ายแบบบัส มีลักษณะพื้นฐานของการเชื่อมโยงสายเคเบิลแบบเดียวกับเครือข่ายแบบวงแหวน เพื่อตัดปัญหาในการที่จะต้องเดินสายเคเบิลแบบเดียวกับเครือข่ายแบบวงแหวน จึงได้ออกแบบระบบการเชื่อมโยงเครือข่ายแบบใหม่เป็นลักษณะแบบสายโซ่
ข้อดี
1. ใช้สายเคเบิลน้อย
2. เพิ่มหรือลดจำนวนสถานีงานได้ง่าย
ข้อเสีย
1. ควบคุมและตรวจสอบความผิดพลาดได้ยาก
2. เกิดความเสียหายทั้งระบบได้ง่าย
การเชื่อมต่อสายสื่อสาร
1. การเชื่อมต่อสายสื่อสารแบบจุดต่อจุด
2. การเชื่อมต่อสายสื่อสารแบบหลายจุด
Router บริดจ์ (Bridge) รูปแบบการเชื่อมต่อเครือข่าย การสื่อสารข้อมูล |
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น